Loading...
Skip to main content

เว็บไซต์ต่างๆ ของ BSA ใช้คุกกี้เช่นเดียวกับที่เว็บไซต์อื่นๆ ใช้ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเว็บไซต์เหล่านั้นของ BSA ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้เกิดผลการใช้งานที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้แก่ผู้ใช้ ท่านสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการใช้คุกกี้ของ BSA และวิธีการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าเกี่ยวกับคุกกี้ในเบราเซอร์ของท่านได้ในประกาศนโยบายเรื่องคุกกี้ของ BSA จากการที่ท่านยังคงใช้งานเว็บไซต์นี้ต่อไปโดยไม่เปลี่ยนแปลงการตั้งค่าของท่านเกี่ยวกับคุกกี้ ถือว่าท่านได้ให้ความยินยอมต่อการใช้คุกกี้ของ BSA

X

OCT 28, 2015 | THAILAND

รายงานเรื่อง “What’s the Big Deal with Data?” หรือ “ข้อมูลสำคัญอย่างไร” ของบีเอสเอ แสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์จากการปฏิวัติด้านข้อมูลที่แผ่ขยายไปทั่วโลก

วอชิงตัน – XX ตุลาคม 2558 – คำตอบต่อคำถามสำคัญต่างๆ ที่ผู้คนได้จากซอฟต์แวร์และข้อมูล คือ หัวใจสำคัญของรายงานฉบับใหม่ที่ บีเอสเอ | พันธมิตรซอฟต์แวร์ (BSA | The Software Alliance) เผยแพร่สู่สาธารณชนในวันนี้ รายงานที่มีชื่อว่า “What’s the Big Deal with Data?” หรือ “ข้อมูลสำคัญอย่างไร” (www.bsa.org/data)

แสดงให้เห็นตัวอย่างที่ชัดเจนของวิธีที่ผู้คนสามารถพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขาให้ดีขึ้นได้ในแต่ละวันโดยการใช้ข้อมูลให้เป็นประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความสะดวกสบายที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และการวางแผนการใช้ชีวิตในเมือง ไปจนถึงการคาดการณ์ล่วงหน้าถึงสภาวะอากาศที่เลวร้าย และการค้นพบด้านการแพทย์ครั้งสำคัญที่ช่วยรักษาชีวิตผู้คนเอาไว้ได้

รายงานฉบับนี้มุ่งสร้างให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับข้อมูลที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือเพื่อการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความคิดและวิธีการใหม่ๆ และการพัฒนาครั้งสำคัญของการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) ที่ช่วยให้ผู้คนค้นพบคำตอบให้กับคำถามต่างๆ อย่างที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อน และรายงานยังมุ่งแก้ไขความเข้าใจผิดเกี่ยวกับวิธีการเก็บและใช้ข้อมูล ที่โดยส่วนมากไม่ได้กระทบต่อความเป็นส่วนตัวของบุคคลแต่อย่างใด

“ในปัจจุบัน ผู้คนใช้ข้อมูลในลักษณะใหม่และเปลี่ยนแปลงไปจากการใช้ข้อมูลแบบเดิมๆ สิ่งนี้กำลังสร้างการเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนไปทั่วโลก ภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการใช้ข้อมูลของผู้คนเหล่านี้กำลังสร้างความแข็งแกร่งและโอกาสให้แก่ผู้คนและสังคม และยังช่วยให้ภาคธุรกิจใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น” วิคตอเรีย เอสไพเนล ประธานและเจ้าหน้าที่ผู้บริหารระดับสูงของบีเอสเอ กล่าว “เมื่อเศรษฐกิจที่ถูกขับเคลื่อนด้วยข้อมูลขยายตัวมากขึ้น ซอฟต์แวร์ใหม่ๆ จะยังคงทำหน้าที่ช่วยให้พวกเราทั้งหมดเข้าใจความสำคัญของข้อมูลได้มากขึ้น และเปลี่ยนแปลงข้อมูลไปเป็นคำตอบที่จับต้องได้มากยิ่งขึ้นและนำไปปฏิบัติได้จริง”

รายงานของบีเอสเอยังเน้นให้เห็นว่าเศรษฐกิจในรูปแบบใหม่ที่ถูกขับเคลื่อนด้วยข้อมูลกำลังส่งผลดีต่อภาคส่วนต่างๆ ในรูปแบบใดบ้าง เช่น ภาคการผลิต ภาคการขนส่ง ภาคพลังงาน ภาคการเกษตร ภาคการศึกษา และภาคสาธารณสุข ในระหว่างนี้ มีการคาดการณ์ว่าภายในปี พ.ศ. 2573 จีดีพีโดยรวมของโลกจะมีเม็ดเงินเพิ่มขึ้นราว 15 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ หมายถึงการขยายตัวครั้งสำคัญของเศรษฐกิจโลกนั่นเอง เอสไพเนลกล่าว

ทุกวันนี้ มีข้อมูลถูกสร้างเพิ่มขึ้นมากมายกว่าเมื่อก่อน มากกว่าร้อยละ 90 ของข้อมูลในโลกนี้ถูกสร้างขึ้นในช่วงสองปีที่ผ่านมา และอัตราการสร้างข้อมูลในทุกๆ สองปี กำลังทวีคูณขึ้น

“ความท้าทายที่สำคัญที่สุดในตอนนี้ คือการรู้จักวิธีที่จะสั่งการและนำข้อมูลมาใช้งาน” เอสไพเนลกล่าว “การเก็บรวบรวมข้อมูล การจัดเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการแปลงข้อมูลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ เป็นภารกิจที่ต้องทำด้วยกระบวนการที่ดีที่สุด และผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจในประเทศต่างๆ ทั่วโลกต้องเข้าใจความสำคัญของนโยบายที่จะทำให้ภารกิจดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างดีที่สุด”

เอสไพเนลกล่าวต่อว่าผู้ทำหน้าที่ออกกฎหมายและผู้ทำหน้าที่กำกับดูแลมีโอกาสที่จะสนับสนุนภารกิจดังกล่าวได้ด้วยการสร้างกฎหมาย กฎ ระเบียบต่างๆ ที่ชัดเจน เพื่อส่งเสริมการไหลของข้อมูลข้ามพรมแดนได้อย่างอิสระ และลงทุนในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความจำเป็นอย่างมาก เพื่อเปิดพื้นที่การค้าการลงทุน และให้บริษัทต่างๆ ได้สร้างสรรค์วิธีและรูปแบบใหม่ หรือนวัตกรรม ในด้านต่างๆ

จากรายงาน What’s the Big Deal with Data? หรือ ข้อมูลสำคัญอย่างไร คำตอบจากข้อมูลและซอฟต์แวร์ถูกเปลี่ยนมาเป็นคำตอบที่พัฒนาคุณภาพชีวิตได้ในหลายหลายแนวทาง ดังนี้

 

  • คาดการณ์ล่วงหน้าถึงสภาวะอากาศที่เลวร้าย: โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลและเซ็นเซอร์ตรวจจับทางทะเล ที่ติดตามความเคลื่อนไหวของกระแสคลื่น กระแสน้ำ และข้อมูลอื่นๆ นักวิจัยสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อรายงานการคาดการณ์เกี่ยวกับการเกิดคลื่นยักษ์สึนามิได้แม่นยำมากขึ้น รวมถึงภัยพิบัติทางธรรมชาติอื่นๆ ทำให้มีศักยภาพในการช่วยเหลือผู้คนนับพันคนที่อาศัยอยู่ในเขตชายฝั่งทะเลที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิ
  • ช่วยชีวิตทารกที่คลอดก่อนกำหนด: โดยการติดตามข้อมูลกว่าพันตำแหน่งภายในเวลาหนึ่งวินาที นักวิจัยได้สร้างความตระหนกตกใจให้แก่ทีมแพทย์ โดยแสดงให้เห็นว่าทารกที่คลอดก่อนกำหนดที่มีสัญญาณชีพจรคงที่ผิดปกตินั้น มีโอกาสที่จะมีอาการไข้สูงและป็นอันตรายในวันถัดไป สิ่งนี้ทำให้ทีมแพทย์สามารถดำเนินการป้องกันและรักษาชีวิตทารกเหล่านั้นเอาไว้ได้
  • ลดเวลาการเดินทาง: กรุงสตอกโฮล์ม สวีเดน ได้ติดตั้งระบบจีพีเอส 1,600 จุดในรถแท็กซี่เพื่อใช้เก็บข้อมูลการจราจร จากนั้นใช้ซอฟต์แวร์วิเคราะห์ข้อมูลการจราจรดังกล่าว เพื่อให้เป็นข้อมูลแก่เทศบาลเมืองสำหรับการวางแผนลดปัญหาการจราจรติดขัด ผลลัพธ์ที่ได้คืออะไร? การจราจรติดขัดลดลงร้อยละ 20 ระยะเวลาในการเดินทางลดลงครึ่งหนึ่ง และการปล่อยควันเสียจากยานพาหนะลดลงร้อยละ 10
  • เพิ่มผลผลิตทางการเกษตร: เกษตรกรตั้งแต่รัฐไอโอวาจนถึงประเทศอินเดียกำลังใช้ข้อมูลจากเมล็ดพันธุ์ ดาวเทียม เซ็นเซอร์ตรวจจับ และเครื่องมือติดตาม ช่วยเพิ่มความถูกต้องของการตัดสินใจเกี่ยวกับชนิดของพืชที่ต้องปลูก เวลาในการเพาะปลูกวิธีติดตามวัดความสดใหม่ของอาหารจากฟาร์มไปจนถึงผู้บริโภค และวิธีปรับเปลี่ยนกิจกรรมให้สอดรับกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป
  • ออกแบบอาคารประหยัดพลังงาน: ในประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เครื่องมือด้านข้อมูลชนิดใหม่กำลังถูกนำมาใช้เพื่อออกแบบอาคารพลังงานบวกแห่งแรกของโลก หรืออาคารที่สามารถผลิตพลังงานออกมาได้มากกว่าพลังงานที่อาคารใช้ไป หากโครงการนี้ประสบความสำเร็จ โมเดลนี้สามารถนำไปใช้ได้ทั่วโลกและจะส่งผลที่สร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างมากต่อปัญหาของโลกในปัจจุบันเรื่องระดับของคาร์บอนในอากาศ
  • ปรับปรุงงานด้านการบิน: ข้อมูลกำลังถูกนำมาใช้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของเที่ยวบิน ลดการเผชิญกับความแปรปรวนของอากาศ เพิ่มความปลอดภัย และหาสาเหตุความผิดปกติของเครื่องยนต์ได้รวดเร็วกว่าเดิมถึง 2,000 เท่า ข้อมูลด้านการบินยังช่วยปรับปรุงการวางแผนเส้นทางการบิน และบอกให้ทราบว่ามีชิ้นส่วนใดที่จำเป็นต้องเปลี่ยน ก่อนที่เครื่องบินจะประสบอุบัติเหตุ
  • สร้างเมืองอัจฉริยะ: บาร์เซโลน่ากำลังนำข้อมูลไปใช้สร้างเมืองอัจฉริยะที่มีขีดความสามารถมากขึ้น ช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบแบบแผนการจราจร วิเคราะห์ว่าควรจะตั้งสถานีจักรยานสาธารณะไว้ตรงจุดไหนบ้าง และระบุได้ว่ามุมใดของเมืองจำเป็นต้องมีเครื่องเอทีเอ็มเพิ่มมากขึ้น

 

“ปัญหามากมายหลากหลายที่กำลังได้รับการแก้ไขด้วยการใช้ข้อมูล แสดงให้เห็นว่าการปฏิวัติด้านข้อมูลได้ส่งผลมากมายเพียงใดแล้วต่อเศรษฐกิจของโลก” เอสไพเนลกล่าว “แน่นอนว่ายังมีปัญหาสำคัญ เช่น ความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน ที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างรอบคอบ แต่ด้วยข้อมูลไร้พรมแดน แสดงให้เห็นความเป็นไปได้อย่างไม่มีขีดจำกัดสำหรับทุกสิ่งทุกอย่าง ตั้งแต่ในห้องเรียนและโรงพยาบาลไปจนถึงทางหลวงและการใช้หุ่นยนต์ในกิจการต่างๆ การเก็บรวบรวมข้อมูล การจัดเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการแปลงข้อมูลที่มีค่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะช่วยให้ผู้คนยังสามารถพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น และสร้างการเติบโตให้แก่เศรษฐกิจของเราโดยรวม ด้วยความคิดและวิธีการใหม่ๆ ได้ต่อไป”

อ่านเรื่องราวความก้าวล้ำด้านข้อมูลเพิ่มเติม และรับชมวิดีโอบทสรุปของรายงาน What’s the Big Deal with Data? หรือ ข้อมูลสำคัญอย่างไร จากบีเอสเอ | พันธมิตรซอฟต์แวร์ ได้ที่ www.bsa.org/data.

ข้อมูลติดต่อสำหรับสื่อมวลชน


กรวิการ์ ไฝแก้ว
02-684-1551 ต่อ 12
[email protected]

 

เกี่ยวกับบีเอสเอ

บีเอสเอ | กลุ่มพันธมิตรซอฟต์แวร์ (www.bsa.org)เป็นหน่วยงานชั้นนำที่ให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ระดับโลกแก่รัฐบาลประเทศต่างๆ และในตลาดสากล ซึ่งมีสมาชิกกลุ่มบริษัทนวัตกรรมใหม่สุดของโลก ที่มีการสร้างซอฟต์แวร์โซลูชันที่จุดประกายความสดใสทางเศรษฐกิจและพัฒนาชีวิตสมัยใหม่

บีเอสเอมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. และมีการดำเนินงานในประเทศต่าง ๆ มากกว่า 30 ประเทศทั่วโลก บีเอสเอริเริ่มแผนงานปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ส่งเสริมการใช้ซอฟต์แวร์ที่ถูกกฎหมาย และสนับสนุนนโยบายสาธารณะที่บ่มเพาะนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลให้เติบโต

ติดต่อสื่อ

Michael O’Brien

อีเมล: [email protected]

For Media Inquiries

อีเมล: [email protected]

ติดต่อสื่อ

Media Inquiries

อีเมล: [email protected]

ติดต่อสื่อ

Media Inquiries

อีเมล: [email protected]

CONTACTO DE PRENSA

Media Inquiries

อีเมล: [email protected]